นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย ในอดีตนายอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 6 สมัย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สคศ.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป) และสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.)
นายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น
หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.มากที่สุด และ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงาตามรูปแบบ คณะรัฐมนตรีเงาที่มีในระบบเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยประกาศวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและติดตามตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น
หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.มากที่สุด และ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงาตามรูปแบบ คณะรัฐมนตรีเงาที่มีในระบบเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยประกาศวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและติดตามตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล
ประวัติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549
เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)
เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
ประวัติทางการเมือง
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาทร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาทร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น