วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541 โดยมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ การดำเนินการด้านต่าง ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ด้วยความมั่นคงและมีคุณภาพ จวบจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2545 ยังความปลื้มปิติสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
ปณิธาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะเป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่จะ"สร้างคน สร้างความรู้ สร้างคุณภาพ"อนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสด้วยการให้การศึกษาระดับสูงเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาบ้านเมืองและธำรงไว้ซึ่งประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติพันธุ์ต่างๆในภาคเหนือและ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จะเป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลางที่มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล มีความเป็นเลิศในศิลปะและวิทยาการสาขาต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างสมและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ควบคู่กันไปกับการนำองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยออกไปสู่การประยุกต์ใช้ในสังคมและภาคอุตสาหกรรมของประเทศในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ภารกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พุทธศักราช 2541 มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีพันธกิจหลักที่สำคัญของความเป็นสถาบันอุดมศึกษา 4 ประการ คือ 1. การผลิตบัณฑิต2. การวิจัย3. การบริการวิชาการแก่สังคม4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


การเตรียมงานเริ่มตั้งแต่การปรับทัศนียภาพ และการอำนวยความสะดวกทางรถยนต์ เพื่อรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม และนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหลั่งไหลมาอย่างคึกคัก
ระหว่างนี้หากใครเดินทางผ่านบนเส้นทางชะอำ
หัวหินไม่ต้องแปลกใจว่าจะมีทางเบี่ยงตลอดทาง เพื่อซ่อมแซมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อให้เรียบร้อย พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์สถานีรถไฟ หัวหิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมที่งดงามอันคลาสสิคของเมืองหัวหิน
ขณะเดียวกันทัศนียภาพต้องสร้างความสบายตา ให้กับผู้ร่วมประชุมที่เดินทางมายังหัวหิน เพื่อเก็บประทับใจกลับไป ดังนั้นจึงต้องมีการกวาดล้างป้ายโฆษณา บอกแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม ที่ไร้ระเบียบออก เพื่อความสวยงามงามของภูมิทัศน์ระหว่างทางก่อนถึงสถานที่การประชุมแห่งนี้
ถนนเพชรเกษมจึงถูกล้าง และแปลงโฉมใหม่ให้มีความสะอาดตา เปลี่ยนถังขยะใบใหม่ ชาวบ้านผู้ประกอบการการ ที่เป็นเจ้าของอาคาคร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ก็ถูกจัดระเบียบใหม่ให้มีความสบายตาต่อผู้มาเยือน
บรรยากาศในเมืองขณะนี้ล้วนอบอวบไปด้วยความธงอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และความเป็นอาเซียนกำลังถูกสอดแทรกเข้าไปให้ประชาชนและชาวบ้านในเวลานั้นได้รับรู้
หัวหิน และชะอำ จึงเต็มไปด้วย การจัดป้ายและธงชาติต่างๆ เพื่อต้อนรับผู้นำประเทศอาเซียน พร้อมกับเตรียมรักษาความปลอดภัยด้วยการเตรียมรถดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่
ส่วนนักศึกษาและนักเรียนในท้องถิ่นก็เตรียมฝึกความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารและให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมงานได้อย่างประทับใจ รวมถึงคนท้องถิ่นเอง ที่หาเช้ากินค่ำ ก็ได้รับรู้ควารู้สึกถึงความภูมิใจต่อการเป็นเจ้าภาพจัดงานการประชุมในครั้งนี้ โดยจัดประชาสัมพันธ์ให้เข้ามามีส่วนร่วมผ่านทางสื่อโฆษณาต่างๆ อาทิเสียงตามสาย สปอตวิทยุ แผ่นพับ เป็นต้น
โรงแรมหลักๆ ที่เป็นแหล่งศูนย์กลางถูกใช้ในการจัดงานการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน คือ โรงแรมดุสิตธานี
หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ สำหรับจัดเป็นพิธีเปิดงานประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 อย่างเป็นทางการ ในห้องนภาลัย บอลรูม A และB รองรับปริมาณผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน โดยมีห้องสำหรับจัดการประชุม และรับประทานอาหารที่ห้องเบญจรงค์
สำหรับสถานที่เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางรองรับกองทัพนักข่าวทั้งในประเทศ อาเซียน และจากสำนักข่าวทั่วทุกมุมโลก อาทิ เอเอฟพี ,เอพี จะถูกใช้ เชอราตัน
หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา อยู่ห่าง จากดุสิตธานีเพียง 5 นาที พร้อมปรับเป็นศูนย์ข่าว ที่ให้บริการด้านงานข่าว ทั้งเอกสาร คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ไวร์เลส และห้องแถลงข่าวสำหรับผู้นำ และมีการเตรียมพร้อมสำหรับรถชัตเตอร์บัส ให้บริการรับส่งทุกๆ 15 นาที
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนและคณะภริยา ยังมีวาระเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชวังไกลกังวล จากนั้นมีการรับประทานอาหารค่ำ วันที่ 28 กุมพาพันธ์ ที่ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระราชวังแห่งความรักและความหวัง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้จัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2466 ใน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
เอกชนและภาครัฐ รวมถึงประชาชนในทั้งสองเมืองให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เพราะเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและได้ประโยชน์อย่างมากมายต่อเมืองหัวหิน และชะอำ เพราะข้อตกลงอาเซียนครั้งนี้ เป็นการลดและยกเลิกภาษีระหว่างสมาชิกทำให้สินค้าถูกลงมีทางเลือกสินค้าที่หลากลาย และการจัดงาน โดยทำให้หัวหิน และชะอำ ผ่านสื่อไปทั่วโลก จึงมีคนรู้จักหัวหินและชะอำ ในระดับโลกมากขึ้น และดึงดูดให้นักท่องเที่ยเข้ามาในท้องถิ่น ก่อเกิดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจชุมชน
ความรู้สึกภาคภูมิใจของนักธุรกิจในพื้นที่ อย่างว่าที่โทร้อยโท จิตร ศิรธรานนท์ รองเลขาธิการสภาหอการค้าไทย นักธุรกิจในจังหวัดเพชรบุรี เล่าให้ฟังว่า เป็นโอกาสที่ธุรกิจในท้องถิ่นจะคึกคักขึ้นมาและดึงดูดนักท่องเที่ยว หลังจากที่ภาวะเศรษฐกิจมีผลทำให้คนมาท่องเที่ยวบางตาและซบเซา ราคาห้องพักทุกระดับ ตั้งแต่ห้องธรรมดา จนถึงห้องชุด ลดลงมากว่า 50% บางแห่งลดราคาจาก 8,000 บาท เหลือ 2,000 บาท เพื่อดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว
ทว่าการประชุมอาเซียน จะปลุกหัวหิน และชะอำ ให้กลับมาดึงดูดนักท่องเที่ยวฟื้นอีกครั้ง มีคนจองห้องพักในช่วงวันจัดงานเข้ามามากขึ้น ทั้งผู้เข้าร่วมการประชุม และนักข่าวจากทั่วโลก ผู้ที่มาท่องเที่ยวของการจัดงาน แม้ไม่สามารถหาห้องพักได้ในราคาที่ต่ำเหมือนเช่นก่อนหน้านี้ แต่ราคาก็อยู่ในระดับที่ปรับมาแบบที่ไม่สูงเกินไปนัก
บรรดาร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน ต่างเตรียมตัวคึกคัก ผลิตของฝากของที่ระลึก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เลือกซื้อ เลือกชม เพื่อสร้างความประทับใจระดับห้าดาวให้ผู้นำอาเซียน
และหวังว่า หลังงาน
อาเซียนซัมมิท เมืองหัวหิน และชะอำ จะกลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวไทยที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักมากมากขึ้น

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย ในอดีตนายอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 6 สมัย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สคศ.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป) และสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.)
นายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น
หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.มากที่สุด และ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงาตามรูปแบบ คณะรัฐมนตรีเงาที่มีในระบบเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยประกาศวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและติดตามตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล

ประวัติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549
เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
ประวัติทางการเมือง
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาทร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)